ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมา

           จังหวัด นครราชสีมา เริ่มต้นในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน บริเวณอำเภอโนนสูง พิมาย และจักราช การพบชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านปราสาท อายุประมาณ 2,500 - 3,000 ปี เป็นหลักฐานที่ยืนยันสมมุติฐานได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๖ การสร้างปราสาทหินพิมาย เพื่อเป็นศูนย์กลางของการนับถือพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของชุมชนในแถบนครราชสีมา ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี อิทธิพลของรัฐไทยเริ่มแพร่เข้ามาสู่นครราชสีมาในสมัยอยุธยา เริ่มปรากฎชื่อนครราชสีมาในกฎหมายตราสามดวง เรื่อง พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมืองที่ประกาศใช้ในปีพุทธศักราช ๑๙๙๘ สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ระบุว่าเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นโท เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียะภาหะ ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ แต่ที่น่าสนใจที่สุด อยู่ตรงที่ว่านครราชสีมาเป็นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงเมืองเดียว ที่ถูกระบุไว้ในรายชื่อเมืองของกฎหมายฉบับนี้
          สมัย สมเด็จพระนารายณ์น่าจะเป็นสมัยที่เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ นครราชสีมา โดยโปรดให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากท้องที่อำเภอสูงเนินมาตั้งอยู่ในที่ตั้ง ปัจจุบัน โดยสร้างเมืองนครราชสีมาเป็นป้อมปราการในฐานะเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขต และทรงเลือกสรรข้าราชการที่มีความสามารถออกไปปกครองในสมัยธนบุรี นครราชสีมามีบทบาทเป็นเสมือนตัวแทนของส่วนกลางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ เกิดสถานการณ์ที่มีแนวโน้มจะเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นที่กรุงเทพฯ เมืองเวียงจันทน์และเมืองจำปาศักดิ์ได้ใช้โอกาสนั้นดิ้นรน เพื่อให้หลุดพ้นจากอำนาจของไทย เจ้าอนุวงศ์ยกกองทัพมาแต่ฝ่ายไทยสามารถปราบปรามเหตุการณ์นี้ จนกระทั่งทำลายเวียงจันทน์ลงหลังสิ้นเหตุการณ์กบฎอนุวงศ์เมืองนครราชสีมา กลายเป็นกำลังสำคัญของรัฐไทยในภาคคะวันออกเฉียงเหนือ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ประเทศไทยได้ทำสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ และสัญญา ลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยกเลิกการค้าแบบผูกขาด เป็นการค้าที่ให้เอกชนเข้ามาทำการค้าขายได้ เมืองนครราชสีมาได้รับความสนใจในฐานะที่มีสินค้าออกที่สำคัญ เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ และงานอกจากนี้รัชกาลที่ ๔ ยังทรงมีพระราชดำริที่จะตั้งให้เป็นเมืองราชธานีแห่งที่ ๒ แต่เนื่องจากขาดแคลนน้ำและการคมนาคมไม่สะดวก จึงโปรดให้สร้างที่ประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี ซึ่งสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแทนครั้น ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงเมืองนครราชสีมาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ ก่อนในทุก ๆ ด้าน ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นคงของชาติต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลของฝรั่งเศส ที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์จัดเตรียมการปกครองเมือง นครราชสีมาเพื่อเตรียมการตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างทางรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ทำให้เมืองนครราชสีมาและเมืองอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางติดต่อกับภาคกลางและภาคอื่น ๆ ได้สะดวกทำให้ชาวเมืองเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย สมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดให้รวมมณฑลเทศาภิบาลเข้าเป็นภาค มีอุปราชปกครอง ยกเว้นมณฑลนครราชสีมา ยังคงปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และกบฎวรเดช รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ ยุบมณฑลเทศาภิบาล และจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด และอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน



ขอขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.nakhonkorat.com/main/th/2009-04-02-05-48-49/2009-04-02-05-50-27.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น